5 ขั้นตอนที่ควรรู้ก่อนทานยาต้านฉุกเฉิน (PEP)

PEP (เป็ป) ยาที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “ยาต้านฉุกเฉิน” เพราะเป็นยาที่ใช้ทานเฉพาะเมื่อเกิดความเสี่ยงที่ไม่คาดคิดเท่านั้น เช่น

ถุงยางอนามัยหลุดรั่ว ถุงยางแตก หรือชำรุดขณะมีเพศสัมพันธ์

✔หรือใครที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมีเพศสัมพันธ์ขณะไม่มีสติ

✔การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

🖐️ 5 ขั้นตอนในการทาน PEP

💊ตั้งสติ และติดต่อสถานพยาบาลที่มีบริการ PEP

เพราะยา PEP ไม่สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป จำเป็นต้องจ่ายผ่านสถานพยาบาล หรือคลินิคที่มีการรับรองการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น และเพื่อการป้องกันที่ได้ผล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีความเสี่ยง หากเพิ่งผ่านเหตุการณ์เสี่ยงมา ให้ตั้งสติให้ดี ไม่ต้องตื่นตระหนก และค้นหาคลินิคที่มีบริการยา PEP ที่น่าเชื่อถือ

💊เข้ารับการตรวจเลือดก่อนการกินยา PEP (หรือ PrEP)

ต้องมีการตรวจคัดกรอง HIV ก่อนว่าคุณมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายอยู่แล้วหรือไม่ เพราะยาต้านนี้สามารถใช้ป้องกันได้ เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกายเท่านั้น รวมถึงจะต้องตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ และตรวจความพร้อมของร่างกายก่อนที่จะรับยาอีกด้วย

💊กินยาให้ครบ ตรงเวลา และสม่ำเสมอ

หากตรวจคัดกรองเลือดและตรวจร่างกายแล้วผ่านเกณฑ์ที่สามารถกิน PEP ได้ จะต้องกินยาให้ครบกำหนดคือวันละเพียง 1 เม็ด กิน 28 วันอย่างต่อเนื่อง และต้องกินในเวลาเดิม (จะเป็นเวลาไหนก็ได้ตามที่สะดวก) การขาดยาหรือกินยาไม่ตรงเวลา มีผลให้การทำงานของยามีประสิทธิภาพลดลง ขั้นตอนนี้จึงสำคัญมาก

💊ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงระหว่างที่กินยา PEP

สุขภาพที่แข็งแรงก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ยาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ควรที่จะดูแลเอาใจใส่สุขภาพของร่างกาย อาจจะด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และที่สำคัญ ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่กิน PEP ห้ามลืมที่จะป้องกันตัวเองเด็ดขาด เพราะการไม่ป้องกันจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเพิ่ม ถุงยางอนามัยจึงเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ควรมีติดตัวไว้เสมอ

💊พบแพทย์อีกครั้ง หลังกินยาครบกำหนดหลังกินยาครบกำหนด 28 วัน

แพทย์จะนัดตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอีกครั้ง เป็นการตรวจสอบดูว่ายา PEP สามารถทำงานได้ดีหรือไม่ และจะมีการนัดตรวจเอชไอวีซ้ำในอีก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายถ้าคุณต้องการรับ PEP เพื่อการป้องกันตัวเองหลังมีความเสี่ยง

ค้นหาคลินิกที่มีบริการตรวจเลือดและบริการ PEP ใกล้คุณได้ง่าย ๆ แล้ววันนี้ ที่ https://love2test.org/th/clinic

ทั้งสะดวก รวดเร็ว แถมยังจองได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!

▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่

เว็บไซต์ Speak OUT Thailandwww.speakoutthailand.com/pep

#PEP#ยาเป็ป#ยาต้านฉุกเฉิน#เอชไอวี#HIV#ถุงยางแตก