เสี่ยงมาจากไหน PEP ช่วยคุณได้..

หากเพิ่งเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เสี่ยง ไม่ว่าจะถุงยางแตก ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ😱 มีหนึ่งตัวช่วยที่ปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV ให้กับคุณได้

PEP มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ยาต้านฉุกเฉิน’ เป็นยาต้าน HIV ที่ช่วยลดการติดเชื้อสำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อในร่างกายมาก่อน ประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิดที่อาจมาในเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด (ขึ้นอยู่กับตัวยา) ยิ่งเริ่มกินเร็วก็จะยิ่งดี ต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังจากเผชิญความเสี่ยงมา 🕓 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ยาจะสามารถต้านเชื้อได้ดีที่สุด

ก่อนเริ่มกิน PEP ต้องได้รับการตรวจก่อนว่าไม่มีเชื้อ HIV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไวรัสตับอักเสบบี ความสามารถในการพร้อมรับ PEP ของตับและไต และถ้าร่างกายพร้อมถึงจะสามารถรับยา ซึ่งอาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น เวียนศีรษะ อาเจียน มักจะหายไปเองหลังจากกินยา 1 อาทิตย์ 😆

ในระหว่างกินยา ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หากลืมกินยาหรือกินยาไม่ครบ ประสิทธิภาพในการต้านเชื้ออาจลดลง ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ 🩺

เมื่อกินยาครบ 28 วัน ต้องกลับมาพบแพทย์หลังจากยาหมด และหลังจากนั้นอีก 3 เดือน และ 6 เดือน เพื่อหาว่ามีเชื้อ HIV ในร่างกายหรือไม่ PEP ไม่จำเป็นต้องกินตลอดชีวิต แต่ถ้ามีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็ควรที่จะกิน PrEP ควบคู่กับการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อ ✌️

—————————————-
อ่านบทความเกี่ยวกับยาเป๊ป (PEP)
เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ Speakout Thailand 💙
https://www.speakoutthailand.com/pep

#ยาเป๊ป#ยาต้านฉุกเฉิน#PEP#HIV#ไวรัสเอชไอวี#ถุงยางอนามัย#ยาป้องกันเอชไอวี#โรคเอดส์