“หากคุณสงสัยว่าตนจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่” และต้องการตรวจเลือด หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่า ตรวจเอดส์ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการตรวจเอชไอวี หรือตรวจเอดส์ถือเป็นเรื่องปกติและไม่ใช่สิ่งที่น่าอายอีกต่อไป ควรทำจิตใจให้สบาย การตรวจเลือดถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการเอาใจใส่สุขภาพของคุณ โดยปัจจุบันมีนโยบายจากทางภาครัฐ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ณ โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ หรือสามารถค้นหาสถานที่ตรวจใกล้บ้านคุณบนเว็บไซต์ออนไลน์ ซึ่งขั้นตอนในปัจจุบันนั้นมีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถรู้ผลได้ภายในวันที่ทำการตรวจ ข้อมูลของคุณจะถูกปกปิดเป็นความลับ

โดยวิธีการตรวจหลักๆ ในปัจจุบัน ได้แก่

  • การตรวจเอชไอวี แบบ Anti-HIV โดยวิธีนี้จะสามารถตรวจได้หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-6 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถรู้ผลได้เลย (แล้วแต่ขั้นตอนของแต่ละสถานที่ตรวจ)
  • การตรวจแบบ NAT ถือเป็นวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีที่รวดเร็วที่สุด สามารถตรวจได้หลังจากมีีความเสี่ยงประมาณ 5-7 วัน หากรู้ผลแล้ว แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งด้วยวิธีแรกที่ 1-3 เดือนเพื่อยืนยันผลเลือดอีกครั้ง

​speakoutthailand แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงบ่อย ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุกๆ 3 เดือน

ขั้นตอนการตรวจ HIV

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีทุกคน ควรได้รับการตรวจทุกคน
  • การเตียมตัวในการตรวจ การเจาะเลือดเพื่อตรวจ HIV ไม่ต้องอดข้าวหรือน้ำ เพียงแค่เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน แล้วไปขอตรวจที่โรงพยาบาล คลินิกนิรนาม หรือคลินิกเอกชนเฉพาะทาง หลังจากมีความเสี่ยงมาประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือประมาณ 14 – 30 วัน
  • ยื่นบัตรประชาชนแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมแจ้งว่าจะมาตรวจเชื้อ HIV
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับคำปรึกษา /คำแนะนำ จากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพูดคุย ประเมินความเสี่ยง และเซ็นชื่อในใบยินยอมเพื่อตรวจ HIV โดยส่วนมากแล้วมักใช้เวลา ไม่เกิน 30 นาที
  • เข้ารับการตรวจเลือด/ เจาะเลือด หลังจากได้รับคำปรึกษาแล้ว จึงจะทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อ HIV ซึ่งสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ทั้งนี้ระยะเวลาแจ้งผลขึ้นอยู่กับนโยบาย /หรือจ้อกำหนดของการบริการของสถานพยาบาล/สถานบริการนั้นๆ กรุณาสอบถามข้อมูลก่อนเข้ารับบริการจากสถานพยาบาล /สถานบริการนั้นๆ)
  • ฟังผลการตรวจเลือด (ภายในวันเดียวหรือขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล)
  • แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะให้คำแนะนำเพื่อการดูแลตนเอง และการวางแผนในการใช้ชีวิต หากพบว่ามีเชื้อเอชไอวี พร้อมตอบคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์

ผลการตรวจ HIV มีอะไรบ้าง

ผลเลือดเป็นลบ หรือ non-reactive

ผู้เข้ารับการตรวจไม่มีเชื้อ หรืออาจยังไม่พบเชื้อ เนื่องจากอยู่ในระยะฟักตัว เรียกว่าผลลบลวง ซึ่งหากมีการติดเชื้อ จะสามารถแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ ดังนั้นจึงควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะ 3-6 เดือน หรือ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
        เจ้าหน้าที่จะเน้นย้ำเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป (การใช้ถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับทุกคน) พร้อมแนะนำให้มาตรวจเอชไอวีเป็นระยะ (ทุก 3 – 6 เดือน)​

หากผลเลือดเป็นบวก

ผลเลือดเป็นบวก หรือ reactive เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง และส่งต่อเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา และรับยาต่อไป ซึ่งสามารถใช้สิทธิการรักษา และรับยาได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนตามสิทธิ (ประกันสังคมหรือหลักประกันสุขภาพ)

เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลรักษาสุขภาพที่จำเป็น

  •         ตรวจ CD4
  •         รักษาโรคฉวยโอกาส เมื่อมีการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส
  •         ตรวจร่างกายเพื่อประเมินความพร้อม เมื่อถึงเกณฑ์กินยาต้านไวรัส​

หากผลเลือดเป็น Invalid 

ผู้ที่มีผลเอชไอวีเป็นบวกแต่ตรวจแล้วไม่พบเชื้อ คือ ผู้ที่ทานยาอย่างสม่ำเสมอจึงทำให้เชื้อไวรัสถูกระงับไว้ภายในร่างกาย กล่าวคือ เชื้อไวรัสถูกระงับไว้จนกระทั่งการตรวจเลือดไม่สามารถค้นพบเชื้อไวรัสในตัวอย่างเลือดได้

ผู้ที่มีสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวี ไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้ ถึงแม้ว่าจะยังมีผลการตรวจเอชไอวีเป็นบวก แต่ก็จำเป็นต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงสถานะตรวจสอบไม่พบเชื้อเอชไอวีนี้เอาไว้

ประโยชน์ของการตรวจเอชไอวี

ข้อดีของการตรวจเลือด HIV มีอยู่มากมาย ทำให้เรารู้สถานะของตัวเองและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสเอชไอวีมากขึ้น เราได้สรุปประโยชน์ไว้ 7 ข้อ ได้แก่

  • หากผลเป็นลบ และไม่ติดเอชไอวี สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีได้ เช่นใช้ถุงยาง หรือการทานเพร็พเพื่อป้องกัน
  • ไม่เครียด หรือกังวลเกียวกับเอชไอวีว่าตัวเองจะติดไหม
  • เมื่อผลเป็นบวกสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที และไม่ต้องรอให้แสดงอาการ
  • เมื่อรับยาต้าน และได้รับการรักษา จะทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงใช้ชีวิตอย่างปกติ
  • หากผลเป็นบวกสามารถวางแผนป้องกันคู่ของตนเองติดเชื้อ และชักชวนคู่ไปตรวจเลือดได้
  • เมื่อผลเป็นบวกสามารถวางแผนป้องกันการติดเชื้อไปสู่ลูกได้
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ และการป้องกันตนเอง สามารถถ่ายทอดไปยังเพื่อน คนรัก และคนในครอบครัว

ใครบ้างควรตรวจเอชไอวี?

  • ผู้ที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน
  • ผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
  • ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่ หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
  • ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตน จะมีพฤติกรรมเสี่ยง
  • ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งของแม่ และลูก

ตรวจเอชไอวีที่ไหน?

ปัจจุบันมีนโยบายจากทางภาครัฐ ส่งเสริมให้คนไทยสามารถตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ณ โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ ยังค้นหาสถานที่ตรวจไกล้บ้านได้ที่.   https://hivthai.org