ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรักษาเชื้อเอชไอวีให้หายขาด แต่การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันก็สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ และการใช้ยาร่วมกันทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นเมื่อเราเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรเข้ารับ การรักษา โดยปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา ก่อนที่เชื้อ HIV จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันโดยการทำลายเซลล์ CD4 เมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาส ที่เราเรียกว่า โรคเอดส์ โดยการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัสเป็นเพียงหยุดหรือทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวลดลง และจะทำให้ไวรัสไม่ลุกลาม
เอชไอวีคืออะไร?
เชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) คือเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจนเกิดความบกพร่อง โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious)
- ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)
- ระยะโรคเอดส์ (AIDS)
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวี
สาเหตุหลักของการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เนื่องจากสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสกับสารคัดหลั่งในร่างกาย คือ น้ำอสุจิ ของเหลวภายในช่องคลอด เลือด หรือ น้ำนมแม่ ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวให้ได้มากที่สุดนั่นเอง
ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
ควรเข้ารับการตรวจหาปริมาณ CD4 ทุก ๆ 3-6 เดือน และรับประทานยารักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง
การรักษา
- ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ควรต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกียวกับ โรคเอชไอวี โรคเอดส์ และโรคติดต่ออื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการติดเชื้อฉวยโอกาส
- ศึกษาเพิ่มเติมเกียวกับตัวยา การทานยาการดื้อยา ผลข้างเคียงของยา
- เมื่อเริ่มการรักษา ผู้ป่วยต้องมั่นใจว่า สามารถทานยาได้ทุกวันและตรงเวลา เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลงซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้
- นอกเหนือจากการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์แล้ว ผู้ดูแลควรใส่ใจจัดเตรียมในเรื่องอาหารเป็นพิเศษ โดยเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในปริมาณที่เหมาะสม

U = U ไม่พบเท่ากับไม่แพร่ คืออะไร?
U = U คือ Undetectable = Untransmissable แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ไม่พบเท่ากับไม่แพร่ เป็นหลักการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการยอมรับในวาระการประชุมเอดส์โลก ณ กรุงปารีส เมื่อปี 2560 เป็นการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยการทานยาต้านไวรัสจนตรวจไม่พบเชื้อไวรัสHIV ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่าได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอพอหรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ ให้สามารถรับการรักษาอย่างทันท่วงทีและใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป
ข้อควรจำ เกียวกับการรักษาเอชไอวี
- ผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี ควรต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกียวกับ โรคเอชไอวี โรคเอดส์ และโรคติดต่ออื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการติดเชื้อฉวยโอกาส
- ศึกษาเพิ่มเติมเกียวกับตัวยา การทานยาการดื้อยา ผลข้างเคียงของยา
- เมื่อเริ่มการรักษา ผู้ป่วยต้องมั่นใจว่า สามารถทานยาได้ทุกวันและตรงเวลา เพราะการขาดยาแม้เพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง ก็จะทำให้ระดับยาในเลือดลดลงซึ่งทำให้เชื้อดื้อยาได้
- นอกเหนือจากการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์แล้ว ผู้ดูแลควรใส่ใจจัดเตรียมในเรื่องอาหารเป็นพิเศษ โดยเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงในปริมาณที่เหมาะสม
สถานพยาบาลที่รักษาเอชไอวีและเอดส์
ปัจจุบันการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย ผ่านสิทธิการรักษาขั้นพื้นฐานประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงสิทธิสำหรับผู้ที่มีประกันสังคมด้วยเช่นกัน โดยสามารถเข้าถึงการรักษาหากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีและรับยาต้านไวรัสฟรี
รักษาเอชไอวีด้วยประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- กรณีที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี และต้องการรับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- หากตรวจพบเชื้อจากสถานที่อื่น แต่มีความประสงค์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องมีเอกสารรายงานผลการตรวจมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
รักษาเอชไอวีด้วยประกันสังคม
- กรณีที่พบเชื้อเอชไอวี และต้องการรับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม
- หากตรวจพบเชื้อจากสถานที่อื่น แต่มีความประสงค์เข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม จะต้องมีเอกสารรายงานผลการตรวจมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่
คลีนิคนิรนามทั่วประเทศ
- คลินิกที่บริการให้คำปรึกษา คำแนะนำ และตรวจเอชไอวี โดยผู้ที่ไปใช้บริการไม่ต้องแจ้งชื่อและข้อมูลต่างๆ หากตรวจพบว่าติดเชื้อจะไม่มีการรายงานผลการตรวจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทราบ ซึ่งผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆจะไม่ถูกเปิดเผย
คลีนิคเอกชนที่ดูแลเรื่อง เอชไอวี
กรุงเทพมหานคร
- เซฟ คลินิก
- www.facebook.com/SafeClinicBKK
- โทร 083-5344555 , 02-0068887
- Line : @safeClinicBkk
- e mail : team@bangkoksafeclinic.com
- Facebook massenger : m.me/SafeClinicBKK
- www.bangkoksafeclinic.com
เชียงใหม่
- ฮักษา กลางเวียง คลินิค
- www.facebook.com/hugsaclinic
- Facebook massenger : m.me/hugsaclinic
- Line : @hugsaclinic
- www.hugsaclinic.com
- โทร 093 309 9988